วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สระ


วรรณยุกต์

นักเรียนสามารถศึกษาเรื่องวรรณยุกต์ได้จาก รูปภาพดังต่อไปนี้


คำเป็นคำตาย

คำเป็น คำตาย


      คำเป็น
   1.  คำประสมด้วยสระเสียงยาว ในแม่ ก กา
     รวมทั้งสระเสียงสั้น อำ ใอ ไอ เอา
   2.  คำที่สะกดในแม่ กง กน กม เกย เกอว
     ตัวอย่างคำเป็น มา / ทำไม / ของ / คน /  / สาย / กาว
     คำตาย
    1.  คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น ในแม่ ก กา
     ยกเว้น สระเสียงสั้น  อำ  ไอ  ใอ  เอา
    2.  คำที่สะกดในแม่  กก  กด  กบ
     ตัวอย่างคำตาย จะ / มัก / สัตว์ / ตับ
      คำครุ/คำลหุ
คำครุ – คำลหุ คือ คำที่มีเสียงหนักเบาต่างกัน ซึ่งจำเป็นมากในการแต่งฉันท์
     1.  คำครุ ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา รวมทั้ง
                  สระเสียงสั้น อำ ไอ ใอ เอา
     2.  คำที่สะกดในทุกมาตรา

     คำลหุ
    1.  ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา ยกเว้น
     สระเสียงสั้น อำ ใอ ไอ เอา
    2.  ต้องไม่มีตัวสะกด

   คำอุปมา – อุปไมย
    คำอุปมาอุปไมย หรือ คำเปรียบเทียบ เป็นคำในภาษาไทยที่สั้น กะทัดรัด และนิยมพูดกันในชีวิตประจำวัน
                1.  เป็นคำพูดในเชิงต่อว่าหรือเปรียบเปรย (ทั้งในทางดีทางร้าย)
                2.  โดยผู้พูดยกเอาสิ่งแวดล้อมมาเทียบเคียงให้ผู้ฟังเห็นจริงไปตามนั้น
                3.  มักจะมีคำว่า เป็น/เหมือน/อย่าง/เท่า/ราวกับ
                     ทำหน้าที่เป็นคำเชื่อม
         เช่น        งงเป็นไก่ตาแตก                  หมายถึง                                ไม่รู้จริง
                       ใจดำเหมือนอีกา                  หมายถึง                                ใจร้าย เห็นแก่ตัวมาก
                     ในดีราวกับพระ                   หมายถึง                                มีใจเมตตา กรุณา

     คำคล้องจอง
                หมายถึง คำที่พูดให้คล้องจองกัน ที่แสดงให้เห็นถึงเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน
เ               ช่น        กินลมชมวิว                          หมายถึง                                นั่งรถเที่ยว
                             คนละไม้คนละมือ              หมายถึง                                ต่างคนต่างช่วยกันทำ
                              คนดีผีคุ้ม                             หมายถึง                              คนทำดีย่อมไม่มีภัย

    คำพ้องรูปและพ้องเสียง
            คำพ้องเสียง คือ คำที่มีเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน
           เช่น         กาน        หมายถึง                                ตัดให้เตียนควั่น
                          การ         หมายถึง                              งาน, ธุระ
                          กาล         หมายถึง                              เวลา, ครั้งคราว
                         โจท        หมายถึง                               โพนทะนาความผิด
                         โจทย์      หมายถึง                                คำถามในการคำนวณ
                        จันทร์     หมายถึง                                ดวงเดือน, ดวงจันทร์
                        จัน          หมายถึง                                ชื่อต้นไม้ ผลสุกสีเหลือง (ต้นจัน)

              คำพ้องรูป คือ คำที่มีรูปเหมือนกันแต่การออกเสียงและความหมายต่างกัน
                เช่น        กาก  กาก       หมายถึง                เศษเดนของเหลือ
                             กา  กะ หมายถึง                กา (นก)
                            พล ี   พลี          หมายถึง              การบวงสรวงขอแบ่งเอามา
                           พะ  ลี  หมายถึง        มีกำลัง

              การใช้คำบุพบท
          แก่ / แด่
            แก่           ใช้คำนำหน้านามฝ่ายรับ เช่น
                -  ให้เงินแก่เด็ก
                -  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพรแก่ประชาชน

           แด่           ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ (ใช้ในที่เคารพ) เช่น
                        - พุทธศาสนิกชนถวายอาหาร แด่ พระภิกษุสงฆ์
                         -  ประชาชนถวายพระพร แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

กับ/ต่อ
กับ          ใช้เชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกัน หรือเกี่ยวข้องกัน เช่น
                -  กิน กับ นอน
                -  ฟ้า กับ ดิน
                -  หายวับไปกับตา
ต่อ           ใช้ในความติดต่อ เฉพาะ ประจันหน้า เช่น
                -  เขาทำความผิดต่อหน้าต่อตา
                -  ยื่นต่ออำเภอ
                -  การกระทำของเขาขัดต่อกฎหมาย

ด้วย/โดย
ด้วย         ใช้นำหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้ หรือเป็นสิ่งที่ใช้เครื่องมือในการกระทำ เช่นฟัน ด้วย มีด
 โดย         ใช้นำหน้าบทในความหมายตาม เช่น
                -  เขาไปสิงคโปร์ โดย รถยนต์
                -  ประชาชนบริจาคเงิน โดย เสด็จพระราชกุศล
 แต่/จาก
แต่           ใช้นำหน้าบอกเวลา บอกสถานที่ เช่น
                -  เขามาทำงานแต่เช้า
                -  แต่ไหนแต่ไรมา
                -  มา แต่ ภูเขา
จาก         ใช้นำหน้าแสดงบทการห่างพ้นออกไป (กริยา)
                นำหน้าบอกต้นทางที่มา (บุรพบท)
เช่น        -  จากลูกจากเมีย (กริยา)
                -  เขามาจากจังหวัดหนองบัวลำภู (บุรพบท)

ของ/แห่ง
ของ        ใช้นำหน้านามที่เป็นผู้ครองครอง เช่น
                -  ดินสอ ของ ฉัน
แห่ง        ใช้นำหน้าแสดงความเป็นเจ้าของที่เป็นหมวดหมู่
เช่น        -  หอสมุด แห่ง ชาติ

                -  โขลง แห่ง ช้าง